วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สรุปผลการเรียนรู้ วันที่ 20 ตุลาคม 2557 (ครั้งที่9)

ชี้แจงเกี่ยวกับรายวิชา
-การสร้าง posposal การเขียนโครงร่างงานวิจัย
ตัวอย่าง
ให้นิสิตระบุเนื้อหาของข้อเสนอโครงการ (จำนวน 4 - 5 หน้าหรือตามความเหมาะสม) โดยอย่าง
น้อยจะต้องประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
1. ความเป็นมาหรือความส าคัญของโครงการ
2. วัตถุประสงค์ของโครงการ
3. ขอบเขตโครงการ
4. แนวเหตุผล ทฤษฏีส าคัญ หรือสมมติฐาน
5. ขั้นตอนและวิธีการด าเนินโครงการ
6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
7. แผนดำเนินงาน
8. เอกสารอ้างอิง

ที่มา/ศึกษาเพิ่มเติม : http://www.sv.eng.chula.ac.th/attachments/article/80/Sample_Proposal.pdf

-การสร้างบล็อคอย่างถูกต้อง การใช้ป้ายกำกับเพื่อเผยแพร่ผลงานได้ดีขึ้น
-การตกแต่งบล็อคของแต่ละบุคคลเพื่อทำให้งานดูสมบูรณ์ที่สุด














-การนำเสนองานผ่านเว็บไซต์ http://www.issuu.com/ และเข้าติดตามไปศึกษาค้นคว้าข้อมมูลต่างๆของอาจารย์ประชิด ทิณบุตร ได้ที่ http://issuu.com/prachid 


























-การศึกษาค้นคว้าต่อยอดจากโครงการเดิมซึ่งเป็นแบบของเราเอง จะเป็นในเชิงคู่แข่งขัน ทำแบบsketch ความคิดต่อยอดจากผลิตภัณฑ์เดิมจะสามารถไปทำอะไรได้อีกบ้าง จะใช้บรรจุภัณฑ์แบบไหนบ้าง วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียจากแบบเดิมที่นำเสนอไป และแก้ไปปัญหา
-การทำแบบประเมินการเรียนการสอนเกี่ยวกับรายวิชา ลงบล็อคของแต่ละบุคคล หัวข้อมีดังนี้
1.เรียนมาครึ่งเทอมได้รับความรู้อะไรบ้าง
2.ปัญหาที่เกิดจากการเรียนรู้ในวิชานี้มีอะไรบ้าง
3. สิ่งที่อยากให้ปรับปรุงในหลักสูตรวิชามีอะไรบ้าง

การประเมินผลการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับวิชา การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ ARTD3302

1.การเรียนครึ่งเทอมได้ทักษะความรู้อะไรบ้าง
การเรียนวิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ เป็นการเรียนที่สอนให้เรียนรู้งานจริงมีการลงพื้นที่เพื่อศึกษางานและรู้จักวิเคราะห์แก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นทำให้รู้จักการทำงานอย่างเป็นระบบขั้นตอนการทำงานอย่างถูกต้องให้รู้ข้อดีข้อเสีย การทำงานเป็นกลุ่มรวมทั้งโปรแกรมต่างๆที่ใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชาเช่น program sketch up, illustrator, photoshop ,coreldraw และการเรียนรู้เกี่ยวกับระบบการทำงานของ Blogger,google Drive การแผยแพร่งานที่ได้ศึกษาเรียนรู้มาบ่งบอกถึงศักยภาพของแต่ละบุคคลได้อย่างชัดเจน ขั้นตอนการศึกษางานต่างๆไม่ว่าจะเป็นการศึกษาจากผู้ประกอบการโดยตรง ทั้งวิธีขั้นตอนการผลิต แหล่งที่มาต่างๆ การลงทุนเผื่อให้ได้มาด้วยงาน รู้จักศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมอเผื่องานที่สมบูรณ์แบบ

2.ปัญหาที่เกิดจากการเรียนรู้ในรายวิชามีอะไรบ้าง
เวลา การแบ่งเวลาไม่ถูกต้องในการทำงาน ทำให้การทำงานเกิดล้าช้าและงานไม่สมบูรณ์ เป็นคนทำงานล่าช้าและเกิดความผิดพลาดอยู่ตลอดเพราะคิดเยอะจนเกินไปจึงทำให้ประเด็นเกิดการเบี่ยงเบนและไม่ตรงประเด็นเสร็จภายในเวลาที่กำหนด และการใช้โปรแกรมต่างๆยังไม่คล่องมากนักทำให้งานเสร็จล่าช้ามากขึ้น

3.สิ่งที่อยากให้ปรับปรุงในหลักสูตรวิชามีอะไรบ้าง
ระบบอินเตอร์เน็ต เพราะนักศึกษาจะใช้ในการส่งงานและสอบในรายวิชา บางทีก็เกิดปัญหาทำให้ส่งงานล่าช้าบ้างไม่ทันตามเวลาที่กำหนดบ้าง และจะไม่สามารถส่งงานได้อีกถ้าหากไม่ทันเวลา และหักคะแนนในการส่งงานล่าช้า และการใช้ภาษาพูดที่นักศึกษาทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น

สรุปผลการศึกษา วันที่ 13 ตุลาคม 2557 (ครั้งที่ 8)

โครงการออกแบบและพัฒนากราฟฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ประเภทสุขภาพและความงาม สบู่ organic ต้นกล้าสมุนไพร





การจัดแสดงผลงานสอบกลางภาคของวิชาการออกแบบการฟฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ ARTD3302 วันพุธที่ 13 ตุลาคม 2557 โดยมีการเริ่มจัดแสดงงานของแค่ละบุคคลในวันพุธที่ 13 ตุลาคม 2557 เวลา 09:30 น. เช็คซื่อตามผลงานทีนักศึกษาจัดแสดงและนำเสนอผลงานรายบุคคล
-การสอบภาคปฏิบัติ ทักษะการเรียนรู้ โปรแกรม sketch up ตามโจทย์ที่อาจารย์ไดดกำหนดไว้ "บ้านคุกกี้" Bancookie ทำและส่งในเวลาที่กำหนด
-การสอบออนไลน์ในระบบอีเลิร์นนิ่ง

วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สรุปผลการศึกษาวันที่ 29 กันยายน 2557 (ครั้งที่7)

แปลสรุปข่าวประจำสัปดาห์
-coca-cola
บรรจุภัณฑ์ของEco โค้กคือการเพิ่มประสิทธิภาพของขวดโดยการสร้างที่ไม่เสียพื้นที่ เมื่อเทียบกับขวดกลมขวดตารางสามารถมีรอยง่ายถึง 27% "
น่าจะเป็นคุณลักษณะที่เจ๋งที่สุดของขวดโค้ก ขวด Eco จะสามารถทรุดตัวลงหลังจากการใช้งานซึ่งเป็นวิธีที่ดีเพื่อลดพื้นที่เมื่อมีการเคลื่อนย้ายเพื่อนำไปรีไซเคิล


















-Khaohom: การบรรจุข้าวอย่างยั่งยืน ออกแบบ: วรินพร บัสราจิราพร ประเทศ: ออสเตรเลีย
'Khaohom' ซึ่งในภาษาไทยหมายถึงข้าวหอม โครงการนี้ได้รับแรงบันดาลใจจริงโดยประเทศบ้านเกิด
















ที่มา/ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : khaohom-sustainable-rice-packaging

-เครื่องมือทำสวนภายในบ้านและชุดผลิตภัณฑ์เมล็ดพันธุ์
ชุดสวนในเมืองมีรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ซ้ำกันที่จะรวมผลิตภัณฑ์ทั้งหมดในครั้งเดียวสำหรับผู้บริโภค ในขณะที่เปิดบรรจุภัณฑ์ที่ผู้บริโภคสามารถดูภาพการนำเสนอของกล่องด้านบนกำลังเบิกบานจากบรรจุภัณฑ์และแพ็คขนาดเล็ก















ที่มา/ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.packagingoftheworld.com/2014/08/shizen.html?m=1

ชี้แจงเกี่ยวกับการเรียนการสอน
-วันที่ 13 ตุลาคม 2557 เวลา 09:30 น. กำหนดสอบกลางภาค
จัดวางงานให้เรียบร้อย moodbord ขนาด 20x30 พร้อมขาตั้ง
-การสอบทักษะ ICT ,sketch up 
วิเคราะห์ตามโจทย์

วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2557

แปรสรุปข่าว

Designer: Bora YILDIRIM
Location: Ankara/Turkey
Project Type: Concept - See more at: http://www.packagingoftheworld.com/2014/09/pinar-sut-milk-juice-bottle-concept.html#sthash.eWe31F5q.dpuf



This project’s main idea is to reuse the package of the product instead of it being thrown away after consumption. With a smart design, the package can be used as a toy. Collecting the packages for children to play with them will have an important and enhancing role on the consumer preference for the product. One other aim of this project is to encourage children to drink milk. In addition to encouraging children to drink milk to help their physical development, this project aims to improve their creative imagination with the product’s functionality as a toy. The innovative approach in this project's design using different forms and colors aims to revamp the product package different than the existing and traditional milk package designs. This distinctive approach in the design will ensure the product to be easily distinguished and noticed by the consumers on the shelves among other milk products. In addition to all the advantages stated, it is possible to organize various activities and contests using the toy functionality of the product package. These activities involving children will help develop and raise awareness of reuse among them starting at small ages, and hence, will also contribute to realizing the company's social responsibilities. - See more at: http://www.packagingoftheworld.com/2014/09/pinar-sut-milk-juice-bottle-
concept.html#sthash.eWe31F5q.dpuf



























Yildirim focused on creating a concept that would appeal to children and parents by incorporating re-use principles and modern aesthetics that would set Pinar's milk and juice beverages apart from its competitors.
"In addition to encouraging children to drink milk to help their physical development, this project aims to improve their creative imagination with the product’s functionality as a toy.

 







The different forms and colors aim to re-vamp the product package [setting it apart from] existing and traditional milk package designs. This innovative approach will ensure the product [is] noticed by consumers. The toy functionality of the product will help develop and raise awareness of re-use among [children] starting at young ages, and contribute to realizing the company's social responsibilities." - Bora Yildirim

วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปผลการเรียนวันจันทร์ที่ 22 กันยายน 2557 (ครั้งที่ 6)

ศึกษาเกี่ยวกับฉลากผลิตภัณฑ์,ฉลากสินค้าและบาร์โค้ด (Barcode) รหัสแท่ง

ฉลากผลิตภัณฑ์

ตัวอย่างภาพฉลากผลิตภัณฑ์


                                                            ที่มา : pr.prd.go.th



                                                         ที่มา : www.vannaherb.com

ข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์
รายการข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์ที่สำคัญแลควรทราบได้แก่
1. วันผลิตสินค้า สัญลักษณ์ "MED"
2. วันหมดอายุ สัญลักษณ์ "EXP"
3. ข้อมูลแสดงถึงส่วนประกอบของสินค้านั้น
4. ผู้ผลิตและจำหน่าย สัญลักษณ์ "ผลิตและจัดจำหน่ายโดย..."
5. เลขทะเบียนการค้าตามชนิดของสินค้า
6. ปริมาณสุทธิของขนาดบรรจุ
7. ฉลากข้อมูลโภชนาการ

เทคโนโลยีการพิมพ์และการติดฉลากแบบใหม่
ปริญญา ขำสาธร

การขาดการสื่อสารที่ดีต่อกันที่จุดขายทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้ผลิตสินค้ากับผู้บริโภคหยุดชะงักลง เช่น ผู้ผลิตขนมปังไม่สามารถแจ้งต่อผู้บริโภคได้ว่าขนมปังจะหมดอายุเมื่อใด ฉลากจึงได้เข้ามามีบทบาท เป็นสื่อกลางที่ให้ ความสัมพันธ์อันดีดำเนินต่อไป ฉลากสามารถบอกวันหมดอายุ ส่วนผสมคุณค่าทางโภชนาการและข้อมูลอื่นๆ ได้ ปัจจุบันประชาคมยุโรปและทั่วโลกได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับฉลากมาใช้กันอย่างมาก มายผู้ผลิตรายใหญ่ๆ ที่ผลิตสินค้าไม่กี่ชนิด มักจะไม่มีปัญหาในการพิมพ์วันหมดอายุ ชุดตัวเลข บาร์โค้ด เพราะสามารถพิมพ์ลงบนบรรจุภัณฑ์ก่อนหรือหลังการบรรจุได้ แต่ผู้ผลิตรายเล็กที่มีสินค้าหลากหลาย การพิมพ์ดังกล่าวจะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายมากขึ้นและเสี่ยง ต่อการนำ สินค้าบรรจุผิดกล่อง วิธีแก้ปัญหาและลดต้นทุนคือ การพิมพ์บนฉลากกระดาษและนำไปติดบนบรรจุภัณฑ์ ณ จุดสุดท้ายของการผลิต สมัยก่อนระบบการพิมพ์และติดฉลากไม่มีทางเลือกมากนัก ต้องใช้ น้ำหมึกและฟอยล์ที่ไวต่อความร้อนซึ่ง พิมพ์ได้ช้า จนกระทั่งได้มีการประดิษฐ์คิดค้นกรรมวิธีการพิมพ์ แบบเทอร์มัล ( thermal printing) ขึ้นมาใช้ โดยพัฒนาจากอุปกรณ์ทางทหาร ความร้อนจากหัวพิมพ์จะสัมผัสกับกระดาษที่เคลือบด้วยสารไวต่อความร้อนแล้ว เปลี่ยนสีขาวของ กระดาษไปเป็นสีเทาดำ ความกว้างของเส้นจะมีขนาด 1 มิลลิเมตร สามารถพิมพ์ตัวอักษร ตัวเลข และกราฟิก ตลอดจนจุดเมตริกได้ แต่ฉลากแบบนี้เมื่อโดนแสงอัลตราไวโอเลตนานๆ จะจางลง จึงได้นำฟอยล์มาใช้ในการแก้ปัญหาดังกล่าว ทำให้สามารถพิมพ์ฉลากได้ 2 สี โดยนำฟอยล์ 2 สี มาพิมพ์พร้อมกัน และความลื่นของฟอยล์เองก็จะช่วยยืดอายุการใช้งานของหัวพิมพ์ได้อีกด้วย จากนั้นได้มีการพัฒนาให้เครื่องพิมพ์ฉลากแบบนี้สามารถพิมพ์ได้ ละเอียดมากถึง 12 จุดต่อ มม. จึงพิมพ์บาร์โค้ดเล็กๆ ได้โดยไม่มีปัญหา สิ่งที่สำคัญคือการแก้ปัญหาในการติดฉลาก เนื่องจากเครื่อง ติดฉลากมีความเร็ว 30 เมตร/นาที ส่วนการพิมพ์ฉลากมีความเร็วเพียง 125 มิลลิเมตร/วินาที ซึ่งเป็นสัดส่วน 4 ต่อ 1 จึงต้องสำรองฉลาก ที่พิมพ์ไว้แล้วในม้วนระหว่างหัวพิมพ์กับเครื่องติดฉลาก การพัฒนาเครื่องพิมพ์ และติดฉลากแบบนี้ได้คำนึงถึงความแม่นยำในการติดฉลาก และความสะดวกในการติดตั้ง บุคคลที่ไม่มีความรู้ทางช่างก็สามารถติดตั้งได้ และเครื่องก็ไม่ต้องการ การบำรุงรักษามากมายนัก อีกทั้งสามารถใช้กับการผลิตสินค้าที่ต้องการความสะอาด นอกจากนี้ได้มีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาควบคุมในการติดฉลากให้แม่นยำมาก ขึ้น และสามารถเปลี่ยนข้อมูลที่หลากหลายของสินค้าได้สะดวกรวดเร็ว ทันต่อสินค้า

บรรจุภัณฑ์ในทศวรรษหน้า
ศิริวรรณ แสงนิกรเกียรติ
บรรจุภัณฑ์ในปี ค.ศ. 2005 จะเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบ วัสดุที่ ใช้ และเทคนิคการตกแต่ง พัฒนาการของการผลิตพลาสติกโดยเฉพาะเทอร์โมฟอร์มจะเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ ชัด โดยนำไปสู่การผลิตภาชนะบรรจุ ที่ลดต้นทุนลงและอย่างน้อยที่สุดจะต้องมีพลาสติกชนิดใหม่ 1 ชนิด เข้าสู่วงจรบรรจุภัณฑ์ ซึ่งอาจเป็นพอลิคีโตน ส่วนโฟมจะถูกนำไปประยุกต์ ใช้มากขึ้น อาจมีการพัฒนาใช้กับตัวสกัดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของวัสดุ บรรจุภัณฑ์ ภายในปี ค.ศ. 2005 การใช้เทคโนโลยีร่วมของการพิมพ์และ การตกแต่งในขั้นตอนการผลิตจะมีผลต่อการผลิตบรรจุภัณฑ์ อย่างแน่นอน

กระดาษ คาด ว่าการผลิตกระดาษของยุโรปจะเพิ่มขึ้นไปพร้อมๆ กับการนำกระดาษเก่ามาเข้ากระบวนการ ผลิตใหม่ ซึ่งการส่งออกกระดาษ ไปยังจีนและอินเดียจะมีการ เติบโต แต่ควรคำนึงถึงปริมาณการจัดเก็บกระดาษเก่า เพื่อเป็นวัตถุดิบต้องให้เพียงพอกับปริมาณความต้องการใช้ ของผู้บริโภคสุดท้าย

พลาสติก การใช้พอลิสไตรีนในบรรจุภัณฑ์ จะลดลง เพราะถูกแทนที่ด้วยวัสดุชนิดอื่น ในขณะที่ PVC
จะถูกใช้เพิ่มขึ้น แต่ที่จะมีการเติบโตสูงสุดเห็นจะได้แก่ พอลิโพรพิลีน และ PET

โลหะ ปัจจัยสำคัญที่มีผล ต่อการเติบโตของโลหะก็คืออัตราการเติบโตของการนำกระป๋องเหล็กและอะลูมิเนียม มาแปรใช้ใหม่ ซึ่งอาจสูงถึงร้อยละ 70 ของการผลิตในยุโรปภายในปี ค.ศ. 2005 ทำให้ตัวเลขการเติบโตของอะลูมิเนียมดูดีขึ้นมากและช่วยในส่วนของโลหะชนิด อื่นที่มีผลการดำเนินการไม่ดีนัก

แก้ว บรรจุ ภัณฑ์แก้วมีการเติบโตอย่างช้าๆ ด้วยพัฒนาการด้านการลดน้ำหนักลง และคาดว่าจะเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ สำหรับการทำนายเป็นไปได้ยากเพราะขาดข้อมูลการผลิต

ฟิล์มอ่อนตัว จาก แนวโน้มของพัฒนาการแสดงให้เห็นว่า บรรจุภัณฑ์ประเภทฟิล์มอ่อนตัวยังคงรูปแบบของการเติบโตต่อไป รวมไปถึงการใช้ liquid crystal polymer ในฟิล์มที่ทำหน้าที่เป็น ตัวสกัดกั้นเพิ่มขึ้น copolyamide แบบใหม่ และการพัฒนา clayloaded nylon ของญี่ปุ่น วัสดุประกอบ polyketone, metallocenebased polyolefin และฟิล์มละลายหรือรับประทานได้จะมีบทบาทสำคัญในบรรจุภัณฑ์ยุคใหม่ ขณะเดียวกับที่มีการปรับปรุงคุณภาพของฟิล์มบางประเภทไปด้วย ตัวอย่างเช่น ฟิล์ม oriented HDPE จาก Mobil Plastic ที่มีความเหนียวสูงเป็นพิเศษ วัสดุแทนฟอยล์ในการประกบและ PVDC จะมีบทบาทมากขึ้นในการใช้งานร่วมกับฟิล์มอะลูมิเนียม ซิลิคอนไดออกไซด์และอะลูมิเนียมออกไซด์ ส่วนแลกเกอร์จะเป็นประเภท acrylic, EVOH และแลกเกอร์ตัวใหม่จาก ICI ที่ใช้กับ Melinar PET โดยผู้ผลิตรายเดียวกัน

วัสดุประกอบอื่นๆ กาว และหมึกพิมพ์จะได้รับการปรับปรุง โดยมีพัฒนาการของประเภทน้ำเป็นหลัก เทปปิดผนึกที่ใช้กระดาษเป็นหลักจะได้รับความนิยมมากขึ้น รวมไปถึงเทปกระดาษแบบมีกาวติดในตัว ฉลากหดรัดรูปทั้งแบบ inmould และ shrink sleeve label จะมีบทบาทมากขึ้น นอกจากนี้ฉลากห่อพันรอบ ( wraparound film label) สำหรับกระป๋องโลหะ ก็จะมีการพัฒนาคุณภาพการพิมพ์ การป้องกันการพิมพ์ซ้ำ ความยืดหยุ่นในการผลิต ร่วมด้วยการลดพื้นที่ในการจัดเก็บกระป๋องในคลังสินค้า

แหล่งข้อมูล
วารสารอุตสาหกรรมสาร ฉบับเดือน กรกฎาคม - สิงหาคม 2546



ฉลากสินค้า

ภาพตัวอย่างฉลากสินค้า


                                                         ที่มา : www.printexpress.in.th

เมื่อพูดถึง “ฉลากสินค้า” ทุกท่านที่เป็นผู้บริโภคคงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ไม่รู้จักฉลากสินค้า เพราะในชีวิตประจำวันผู้บริโภคสามารถพบเห็นฉลากสินค้าได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นฉลากยา ฉลากอาหาร ฉลากเครื่องสำอาง ฉลากเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือฉลากสินค้าอื่น ๆ อีกมากมาย แล้วฉลากสินค้ามีความสำคัญกับผู้บริโภคอย่างไร
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ได้กำหนดให้ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองไว้ 5 ประการ คือ

1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ 2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ 3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ 4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา 5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย
โดยพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 กำหนดว่า “ฉลาก” หมายถึง รูป รอยประดิษฐ์ กระดาษหรือสิ่งอื่นใดที่ทำให้ปรากฏข้อความเกี่ยวกับสินค้าซึ่งแสดงไว้ที่สินค้าหรือภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อบรรจุสินค้าหรือสอดแทรก หรือรวมไว้กับสินค้า หรือภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อบรรจุสินค้า และหมายความรวมถึงเอกสารหรือคู่มือสำหรับใช้ประกอบสินค้า ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่สินค้าหรือภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุสินค้านั้น
“ฉลากของสินค้า” จะต้องระบุข้อความดังนี้
- ชื่อประเภทหรือชนิดของสินค้าที่แสดงให้เข้าใจได้ว่าสินค้านั้นคืออะไร กรณีที่เป็นสินค้าที่สั่งหรือนำเข้ามาเพื่อขาย จะต้องระบุประเทศที่ผลิตด้วย เช่น โทรทัศน์สี คอมพิวเตอร์ สมุดพิมพ์เขียน น้ำหอมปรับอากาศ ผลิตในประเทศญี่ปุ่น ผลิตในประเทศมาเลเซีย ฯลฯ
- ชื่อผู้ประกอบการหรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยของผู้ผลิตเพื่อขายในประเทศไทย
- ชื่อผู้ประกอบการหรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยของผู้สั่งหรือผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย
-สถานที่ตั้งของผู้ผลิตเพื่อขายหรือของผู้สั่งหรือผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย
- ต้องแสดงปริมาณ หรือขนาด หรือปริมาตร หรือน้ำหนักของสินค้า
- ต้องแสดงวิธีใช้ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าสินค้านั้นใช้เพื่อสิ่งใด เช่น ใช้ทำความสะอาดพื้นไม้หรือพื้นกระเบื้อง ภาชนะเคลือบใช้ตั้งบนเตาไฟ ฯลฯ
- ข้อแนะนำในการใช้หรือห้ามใช้ เพื่อความถูกต้องในการใช้ที่ให้ประโยชน์แก่ผู้บริโภค เช่น ห้ามใช้ของมีคมกับการแซะน้ำแข็งในตู้เย็น ควรเก็บสินค้าไว้ในที่ร่มและไม่เปียกชื้น ฯลฯ
- คำเตือน (ถ้ามี)
- วัน เดือน ปี ที่ผลิต หรือวัน เดือน ปีที่หมดอายุ หรือวัน เดือน ปี ที่ควรใช้ก่อน (ถ้ามี)
- ราคาต้องระบุหน่วยเป็นบาท และจะระบุเป็นเงินสกุลอื่นด้วยก็ได้ นอกจากนี้สินค้าที่ควบคุมฉลากตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ได้แก่ สินค้าที่ผลิตเพื่อขายโดยโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน (กรณีจะเข้าข่ายเป็นโรงงานก็คือใช้แรงงานตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป หรือใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 5 แรงม้าขึ้นไป) สินค้าที่สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายและคณะกรรมการว่าด้วยฉลากยังมีอำนาจออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก กำหนดให้สินค้าที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพร่างกาย หรือจิตใจ เนื่องในการใช้สินค้าหรือโดยสภาพของสินค้านั้น หรือสินค้าทั่วไปใช้เป็นประจำ
การกำหนดฉลากของสินค้านั้นจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค ในการที่จะทราบข้อเท็จจริงในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้านั้น เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลากได้ สำหรับการแสดงข้อความในฉลากสินค้าต้องใช้ข้อความที่ตรงต่อความเป็นจริง และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้านั้น ๆ ในกรณีที่สินค้านั้น ๆ มีกฎหมายของหน่วยงานราชการอื่นควบคุมในเรื่องฉลากอยู่แล้ว ก็ให้จัดทำฉลากตามกฎหมายนั้น ๆ เช่น อาหารต้องจัดทำฉลากตามพระราชบัญญัติอาหาร ฯลฯ
เมื่อฉลากสินค้าเป็นแหล่งข้อมูลในการอุปโภค และบริโภคของผู้บริโภค ซึ่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ได้กำหนดสิทธิที่ผู้บริโภคจะต้องได้รับข่าวสาร ดังนั้นไม่ว่าจะก่อนซื้อหรือก่อนใช้สินค้าหรือบริการ หยุดให้ความสำคัญอ่านฉลากสักนิดเพื่อคุณภาพชีวิตของผู้บริโภค.

บาร์โค้ด (Barcode) คืออะไร




                                                           ที่มา : www.clipmass.com

บาร์โค้ด(barcode) หรือในภาษาไทยเรียกว่า “รหัสแท่ง” ประกอบด้วยเส้นมืดประกอบด้วยเส้นมืด (มักจะเป็นสีดำ) และเส้นสว่าง(มักเป็นสีขาว)วางเรียงกันเป็นแนวดิ่ง เป็นรหัสแทนตัวเลขและตัวอักษร ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถอ่านรหัสข้อมูลได้ง่ายขึ้น โดยใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) ซึ่งจะทำงานได้รวดเร็วและช่วยลดความผิดพลาดในการคีย์ข้อมูลได้มาก บาร์โค้ดเริ่มกำเนิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1950 โดยประเทศสหรัฐอเมริกาได้จัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจทางด้านพาณิชย์ขึ้นสำหรับค้นคว้ารหัสมาตรฐานและสัญลักษณ์ที่สามารถช่วยกิจการด้านอุตสาหกรรมและสามารถจัดพิมพ์ระบบบาร์โค้ดระบบ UPC-Uniform ขึ้นได้ในปี 1973 ต่อมาในปี 1975 กลุ่มประเทศยุโรปจัดตั้งคณะกรรมการด้านวิชาการเพื่อสร้างระบบบาร์โค้ดเรียกว่า EAN-European Article Numbering สมาคม EAN เติบโตครอบคลุมยุโรปและประเทศอื่นๆ(ยกเว้นอเมริกาเหนือ) และระบบบาร์โค้ด EAN เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี1987

โดยหลักการแล้วบาร์โค้ดจะถูกอ่านด้วยเครื่องสแกนเนอร์ บันทึกข้อมูลเข้าไปเก็บในคอมพิวเตอร์โดยตรงไม่ต้องกดปุ่มที่แท่นพิมพ์ ทำให้มีความสะดวก รวดเร็วในการทำงานรวมถึงอ่านข้อมูลได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เชื่อถือได้ และจะเห็นได้ชัดเจนว่าปัจจุบันระบบบาร์โค้ดเข้าไปมีบทบาทในทุกส่วนของอุตสาหกรรมการค้าขาย และการบริการ ที่ต้องใช้การบริหารจัดการข้อมูลจากฐานข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และปัจจุบันมีกระประยุกต์การใช้งานบาร์โค้ดเข้ากับการใช้งานของMobile Computer ซึ่งสามารถพกพาได้สะดวก เพื่อทำการจัดเก็บแสดงผล ตรวจสอบ และประมวลในด้านอื่นๆ ได้ด้วย

วิวัฒนาการ บาร์โค้ด

เดิมนั้น บาร์โค้ด จะถูกนำมาใช้ในร้านขายของชำ, ปกหนังสือ, ร้านอุปกรณ์ประกอบรถยนต์และร้านอุปโภคบริโภคทั่วไป ในแถบยุโรป รถบรรทุกทุกคันที่จะต้องวิ่งระหว่างประเทศฝรั่งเศสและประเทศเยอรมนี จะต้องใช้แถบรหัสบาร์โค้ดที่หน้าต่างทุกคันเพื่อใช้ในการแสดงใบขับขี่ ใบอนุญาต และน้ำหนักรถบรรทุกเพื่อให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรสามารถตรวจได้ง่ายและรวดเร็ว ในขณะที่รถลดความเร็วเครื่องตรวจจะอ่านข้อมูลจากบาร์โค้ด และแสดงข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ทันที

ปัจจุบันวิวัฒนาการของบาร์โค้ด พัฒนาไปมาก ทั้งรูปแบบและความสามารถในการเก็บข้อมูล โดยบาร์โค้ดที่ใช้ในยุคสมัยนี้มีทั้งแบบ1 มิติ 2 มิติ และ 3 มิติ แต่ที่เราใช้กันทั่วไปในสินค้านั้นเป็นแบบมิติเดียว บันทึกข้อมูลได้จำกัดตามขนาดและความยาว โดยบาร์โค้ด 2 มิติ จะสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่าแบบอื่นๆ มาก และขนาดเล็กกว่า รวมทั้งสามารถพลิกแพลงการใช้งานได้มากกว่าขนาดที่ว่าสามารถซ่อนไฟล์ใหญ่ ๆ ทั้งไฟล์ลงบนรูปภาพได้เลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม บาร์โค้ด 2 มิติ ก็ยังไม่เสถียรพอ ทำให้การนำมาใช้งานหลากหลายเกินไปจนอาจเกิดปัญหาการใช้งานร่วมกันและต้องใช้เครื่องมือเฉพาะของมาตรฐานนั้น ๆ ในการอ่านซึ่งในปัจจุบันมีความพยายามที่จะกำหนดมาตรฐานของบาร์โค้ด 2 มิติ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิคส์ และ อุตสาหกรรมยา/เครื่องมือแพทย์ ที่มีความต้องการใช้งานบาร์โค้ดที่เล็กแต่บรรจุข้อมูลได้มากจนได้บาร์โค้ดลูกผสมระหว่าง 1 มิติกับ 2มิติขึ้นมา ในชื่อเดิมคือ RSS Reduce Space Symbol หรือชื่อใหม่คือ GS1 DataBar



ส่วนบาร์โค้ด 3 มิติคือความพยายามที่จะแก้ข้อจำกัดของบาร์โค้ด ที่มีปัญหาในสภาวะแวดล้อมที่โหด ๆ เช่นร้อนจัด หนาวจัด หรือมีความเปรอะเปื้อนสูง เช่น มีการพ่นสี พ่นฝุ่นตลอดเวลา ซึ่งส่วนใหญ่จะพบการใช้ บาร์โค้ด 3 มิติ ในอุตสาหกรรมหนัก ๆ เช่น เครื่องจักร เครื่องยนต์ โดยจะยิงเลเซอร์ลงบนโลหะ เพื่อให้เป็นบาร์โค้ดหรือจัดทำให้พื้นผิวส่วนหนึ่งนูนขึ้นมาเป็นรูปบาร์โค้ด (Emboss) นั่นเอง



ประเภทของ บาร์โค้ด
โค้ดภายใน (Internal Code) เป็นบาร์โค้ดที่ทำขึ้นใช้เองในองค์กรต่างๆ ไม่สามารถนำออกไปใช้ภายนอกได้
โค้ดมาตรฐานสากล (Standard Code)เป็นบาร์โค้ดที่เป็นที่รู้จัก และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกมีประมาณ 11 ระบบ ได้แก่
ระบบ EAN(European Article Numbering) เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2519 มีประเทศต่าง ๆ ใช้มากกว่า 90 ประเทศทั่วโลกในภาคพื้นยุโรป เอเชีย และแปซิฟิก, ออสเตรเลีย, ลาติน อเมริกา รวมทั้งประเทศไทย ทั้งนี้ EAN มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม
ระบบ UPC(Universal Product Code) เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2515 ซึ่งกำหนดมาตรฐานโดย Uniform Code Council.Inc ใช้แพร่หลายในประเทศสหรัฐอเมริกาและ แคนาดา
CODE 39เริ่มใช้ในปี 2517ในธุรกิจอุตสาหกรรมเป็นบาร์โค้ดระบบแรกที่ใช้รวมกับตัวอักษรได้ เก็บข้อมูลได้มาก
INTERLEAVE 1 of 5 หรือเรียกว่า ITF เป็นบาร์โค้ดตัวใหญ่ใช้กับหีบบรรจุสินค้าหรือเรียก Cass Code
CODABAR ถูกพัฒนาขึ้นมาใช้กับธุรกิจเวชภัณฑ์ในปี 2515
CODE 128ได้ถูกพัฒนาขึ้นและยอมรับว่าได้ใช้เป็นทางการในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2524นิยมใช้ในวงการดีไซเนอร์และแฟชั่นปัจจุบันกำลังเริ่มนิยมใช้ในสหรัฐอเมริกา
CODE 93เริ่มพัฒนาขึ้นในปี 2525ปัจจุบันเริ่มนิยมใช้ในวงการอุตสาหกรรม
CODE 49เริ่มพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ.2530โดยพัฒนาจาก CODE 39ให้บรรจุข้อมูลได้มากขึ้น ในพื้นที่เท่าเดิม
CODE 16k เหมาะสำหรับใช้กับอุตสาหกรรมผลิตสินค้าที่เล็กมากมีพื้นที่ในการใส่บาร์โค้ดน้อย เช่น อุปกรณ์อะไหล่ เครื่องไฟฟ้า
ISSN/ ISBN [International StandardBook Number] ใช้กับหนังสือ และนิตยสาร
EAN/ UCC 128 หรือShipping Container Code เป็นระบบใหม่ โดยการร่วมมือระหว่าง EAN ของยุโรป และ UCC ของสหรัอเมริกาโดยเอาระบบ EAN มาใช้ร่วมกับCODE 128 เพื่อบอกรายละเอียดของสินค้ามากขึ้น เช่น วันเดือนปีที่ผลิต ครั้งที่ผลิต วันที่สั่งซื้อ มีกี่สี กี่ขนาด เป็นต้น

โดยประเทศไทยไทยเริ่มใช้บาร์โค้ดอย่างจริงจังในปี2536 โดยมีสถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย “Thai Article Numbering Council” หรือ “TANC” เป็นองค์กรตัวแทนของ”EAN” ภายใต้การดูแลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ระบบ EAN ที่ประเทศไทยใช้นั้นจะมีลักษณะเป็นเลขชุด 13 หลัก ซึ่งมีความหมายดังนี้


หมายเลข 1 สัญลักษณ์แท่งสีเข้มสลับสีอ่อนสำหรับอ่านด้วยเครื่องสแกนเนอร์

หมายเลข 2 885 : ตัวเลข 3 หลักแรก คือรหัสของประเทศไทย

หมายเลข 3 0000 : ตัวเลข 4 ตัวถัดมา เป็นรหัสโรงงานที่ผลิต หรือรหัสสมาชิก

หมายเลข 4 11111 : 5 ตัวถัดมาเป็นรหัสสินค้า

หมายเลข 5 2 : ตัวเลขหลักสุดท้ายเป็นตัวเลขตรวจสอบเลข 12 ข้างหน้าว่ากำหนดถูกต้องหรือไม่ ถ้าตัวสุดท้ายผิด บาร์โค้ดตัวนั้นจะอ่านไม่ออกสื่อความหมายไม่ได้


ประเภทฟิล์มยืดพันพาเลท LLDPE (Stretch Film)

ฟิล์มยืดพันพาเลท (Stretch Film) มีคุณสมบัติเฉพาะคือ มีความเหนียวและยืดหยุ่นตัวสูง ฟิล์มยืดจะเกาะติดกันเองได้เมื่อดึงฟิล์มยืดให้ยืดออกเล็กน้อย ทำให้สะดวกในการใช้งานเนื่องจากไม่ต้องใช้ความร้อนทำให้ฟิล์มยืดเกาะติดกัน ฟิล์มยืดผลิตจากเม็ดพลาสติก LLDPE (Linear Low Density Polyethylene) มีคุณสมบัติเหนียวและความยืดหยุ่นสูงกว่าฟิล์มชนิดอื่น ๆ จึงสามารถต้านแรงเจาะทะลุได้ดี สามารถใช้ฟิล์มยืดพันสินค้าที่มีมุมแหลมได้โดยไม่ฉีกขาดง่าย มีความบางและใสจึงสามารถมองเห็นสินค้าได้
ฟิล์มยืดเอนกประสงค์(พิเศษ) / ฟิล์มยืดพันพาเลท ใช้พันสินค้าที่อยู่บนพาเลท บนเสาคอนกรีต ห่อหุ้มสินค้าเอนกประสงค์ ทางเลือกใหม่ของการบ่มคอนกรีตและการห่อหุ้มสินค้าเอนกประสงค์ เนื่องจากฟิล์มยืดทำจากเชื้อพลาสติก PE+LLD จึงไม่มีสารพิษ และเป็นฟิล์มที่ สามารถยืดตัวได้ จึงใช้งานได้มากขึ้น และมีกาวอ่อนๆในตัว จึงสามารถติดตัวกันได้ โดยไม่ต้องใช้เทปกาว จึงเหมาะกับการใช้งานเป็นอย่างมาก


                                                          ที่มา : scg-group.webiz.co.th

ในกระบวนการผลิตของฟิล์มยึดจำเป็นต้องใส่สารแต่งเติมที่เรียกว่า สารเกาะติด (cling agent) เพื่อช่วยให้ฟิล์มยืดสามารถเกาะติดกันเองได้ดีโดยไม่ต้องใช้ความร้อน ขณะใช้งานจะไม่มีคราบกาวติดหลงเหลืออยู่ในสินค้าหรือพาเลทและด้วยคุณสมบัติ หลาย ๆ อย่าง จึงทำให้ฟิล์มยืดเป็นสินค้าแพ็คเก็จจิ้งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายใน อุตสาหกรรมที่ต้องการห่อรัดสินค้าบนแท่นรองรับเพื่อการลำเลียง โดยประโยชน์ของฟิล์มยืด มีดังนี้
ห่อคลุมสินค้ากันการเปรอะเปื้อน ป้องกันฝุ่นเหมาะสำหรับงานเฟอร์นิเจอร์ คลุมสินค้าที่ต้องการยึดแนบสินค้า แพ็คงานเพื่อการส่งออก
บ่มเสาคอนกรีต , พันเสา
รวมสินค้าหลาย ๆ หน่วยให้เป็นหน่วยใหญ่ เพื่อช่วยให้สะดวกต่อการขนส่ง
ป้องกันสินค้าตกหล่นจากพาเลทขณะทำการขนส่ง กระชับสินค้า เพื่อให้ดูกระทัดรัด สวยงาม
ป้องกันสินค้าสัมผัสกับฝุ่นละออง สิ่งสกปรกและไอน้ำ
ปัจจุบันสามารถใช้กับงานสปา (รองเตียง,อบตัว) เพื่อการลดน้ำหนักและกระชับสัดส่วน



สรุปผลการเรียนวันจันทร์ที่ 15 กันยายน 2557 (ครั้งที่ 5 )

แปลสรุปข่าวประจำสัปดาห์
-รองเท้าบูทน้ำตื้นยี่ห้อ Fisherman ที่ออกแบบกราฟฟิกให้เหมือนอยู่ใต้น้ำเหมือนจริง
-เบียร์ผลไม้ Tropical Brew ที่นำเรื่องราวที่โด่งดังในอดีตมาตั้งชื่อและออกแบบ
-แซนวิซ การใช้กราฟฟิกโดยตรงและทางอ้อม โดยมี window ให้เห็นข้างในที่สื่อถึงรสชาติและชนิด
แนะแนวเกี่ยวกับการเรียนการสอน
ดำเนินการวิเคราะห์ตามโจทย์ที่อาจารย์ได้ให้ไว้ตามขั้นตอน
สำรวจความต้องการของผูประกอบการ
ข้อผิดพลาดต่างๆ
ตั้งจุดประสงค์ SWOT Analysis
S มาจาก Strengths หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายใน
W มาจาก Weaknesses หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ
O มาจาก Opportunities หมายถึง โอกาส ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอก
T มาจาก Threats หมายถึง อุปสรรค ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก



งานประจำสัปดาห์
แนวทางการดำเนินงานโดยใช้ mindmap โดยโหลดจาก google play
การสร้างแพทเทิร์นบรรจุภัณฑ์จากเว็บไซต์ http://www.templatemaker.nl/
เสนองนานและความคืบหน้าของแต่ละบุคคล
สร้างArt work ฉลากของแต่ละบุคคลเพื่อศึกษาและพัฒนา และนำเสนอแนวทางต่อไป

สรุปผลการเรียนวันจันทร์ที่ 8 กันยายน 2557 (ครั้งที่ 4 )

การแปลสรุปข่าวประจำสัปดาห์
-บรรจุภัณฑ์รักสิ่งแวดล้อม Natural Delivery สามารใช้เป็นที่รองจานได้ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมโดยเน้นการใช้งานสามารถรีไซเคิลและย่อยสลายด้ง่าย ใช้สีเขียวเพื่อต้องการสื่อถึงความเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ เป็นการสมผสานระหว่างกราฟฟิกและการแยกคำ เทคนิคของบรรจุภัณฑ์คือใช้การ ปรุ
-น้ำหอม เซ็น การออกแบบบรจุภัณฑ์ที่มีรูปลักษณ์จากไม้ไผ่ ประเทศญ่ปุ่น
-PIETRO GARA บรรจุภัณฑ์บรรจุเส้นพาตต้า การเจาะ window ให้เห็นตัวผลิตภัณฑ์ที่อยู่ด้านในซึ่งดูแล้วจะเห็นเป็นชุดงนเลี้ยงจากรูปแบบการเจาะ ปรุ
แนะแนวเกี่ยวกับรายวิชา
การปรับแนวคิดและรูปแบบบรรจุภัณฑ์ ทำให้ได้มากที่สุด
การใช้งานในกูเกิ้ลไดฟ์ และการจัดแฟ้มให้เป็นระเบียบ
การใช้งานโปรแกรม mindmap เพื่อการใช้งานในรูปแบบอธิบายงานให้เข้าใจง่ายและชัดเจนในรูปแบบแผนผังความคิด
ศึกษาทำความเข้าใจใบงานในระบบ claroline E-learning และส่ง
อาทิตย์หน้า สิ่งที่ต้องเตรียม
-คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
-กระดาษอังกฤษ หน้าเดียวคละสีอย่างน้อย 4แผ่น

วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปผลการเรียนวันที่1 กันยายน 2557 (ครั้งที่3)

แนะแนวการเรียนการสอน

การนำเสนอข่าวประจำสัปดาห์
-หมากฝรั่ง Tridean
-Jaali bean บรรจุภัณฑ์อาหารอินเดีย,ถั่วแขก

ชนิดและประเภทของบรรจุภัณฑ์
บทบาทของบรรจุภัณฑ์ที่มีผลต่อการพัฒนา
ที่มาของการพัฒนาผลิตภัณฑ์
การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน

-ชี้แจงเกี่ยวกับการทำงานของระบบออนไลน์
-แนะนำเรื่องการ Shared File ในการส่งงาน
- แนะแนวเรื่องการคิดขบวนการออกแบบ การคิดอย่างเป็นระบบ
- ตรวจงานกลุ่มในแต่ละกลุ่ม ถึงความคืบหน้าของงาน


วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สรุปผลการเรียนรู้วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม 2557 (ครั้งที่2)

แนะนำการเรียนการสอนเกี่ยวกับรายวิชา

-ตรวจงานและแก้ไขงานที่ทำมาเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตัวอย่างที่ต้องการข้อมูลที่ละเอียด ทั้ง  ขนาด โค้ด สี ฟอนต์ และขบวนการผลิตต่างๆว่ามีอะไรบ้างทำมาจากอะไรบ้างและขบวนการใช้งาน
ของวัถุดิบต่างๆของบรรจุภัณฑ์และสินค้า การถ่ายภาพของบรรจุภัณฑ์และสินค้าอย่างชัดเจนและ  สวยงาม สี background,  สีแวดล้อม, มุมมองการถ่าย  ด้านหน้า ด้านข้าง(ซ้าย,ขวา) บน,ล่าง
 และมุม 45 องศา ด้านหน้าและด้านหลัง
-มีบรรจุภัณฑ์กี่อย่าง กี่ประเภท แหล่งอ้างอิง บรรจุภัณฑ์กี่ชั้น
 บรรจุภชั้นแรก ที่สำผัสกับผลิตภัณฑ์
 บรรจุภัณฑ์ชั้นสอง,การผลิตและส่วนประกอบ วัสดุที่ใช้ เนื้อผ้า หนา,บาง น้ำหนักเท่าไหร่ โครงสร้าง  แบบไหน  พลาสติกชนิดใดมีชื่อเรียกว่าอะไร และกลไกลต่างๆ

-การทำงานและแชร์งานผ่าน Google Doc. ถึงกระบวนการทำงานและประโยชน์ต่างๆ

การบ้าน
-ส.1 การสืบค้น
-การทำ Visual Analysis
-สเก็ตมุมมองต่างๆของผลิตภัณฑ์ พร้อมอธิบาย
-เล่มรายงาน, mood bord
-พรีเซนต์งานเป็นกลุ่มหน้าชั้นเรียนอย่างน้อย 5 นาที

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่http://package-design-guru.blogspot.com/

วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความหมาย กราฟฟิก การออกแบบกราฟฟิก การออกแบบบรรจุภัณฑ์

กราฟฟิก Graphic

กราฟิก(Graphics) เป็นคำที่เกิดขึ้นจากรากศัพท์ภาษากรีก คือคำว่า “Graphikos” หมายถึง การเขียนภาพด้วยสีและลักษณะขาวดำ และรวมกับคำว่า “Graphien” หมายถึง การเขียนตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้น ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า กราฟิก หมายถึง การสื่อความคิดโดยการใช้ภาพ สัญลักษณ์ และข้อความกราฟิกในยุคแรก ๆ จะเริ่มตั้งแต่การวาดภาพลายเส้น การวาดภาพเหมือนจริง มาจนถึงการใช้ภาพถ่ายเหมือนจริง และเมื่อเทคโนโลยีพัฒนามาสู่ยุคดิจิตอล จึงมีการใช้คอมพิวเตอร์มาสร้างงานกราฟิกดังนั้นคำนิยามของคำว่า “คอมพิวเตอร์กราฟิก” จึงหมายถึง การสื่อความคิดโดยการใช้คอมพิวเตอร์สร้างและจัดการกับภาพ สัญลักษณ์ และข้อความ
งานกราฟิก หมายถึง งานการวางแผนทางศิลปะและการทำหัวเรื่อง โดยรู้ขนาดและสัดส่วนหลักในการออกแบบ รวมถึงการใช้สีเป็นองค์ประกอบเพื่อเน้นและดึงดูดความสนใจให้มากขึ้น และเป็นการช่วยให้ได้รายละเอียดชัดเจนของวัสดุที่ใช้ประกอบการสอน และยังมีความหมายรวมไปถึงการผนึกภาพ ภาพถ่าย รูปถ่าย อีกด้วย
กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ กราฟิก แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องต้องตามที่ผู้สื่อสารต้องการ





สรุป
กราฟฟิกคือการพัฒนาจากลายเส้นปลายปากกาที่เราเขียนและถ่ายทอดความรู้สึกลงไปในกระดาษ มาร่วมใช้กับเทคโนโลยีในแต่ละยุคสมัยเช่น รูปวาด ภาพถ่าย ป้าย รวมไปถึงสัญลักษณ์ต่างๆที่เราสามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ภาพกราฟฟิกสามารถสื่อสารความหมายได้ตรงตามผู้ที่ให้สื่อสารออกมาในรูปแบบต่างๆได้อย่างดีและยังเน้นสีสันความสวยงามสะดุดตา



 ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การออกแบบกราฟฟิก Graphic Design
การออกแบบกราฟิกหมายความถึง การสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบต่างๆในรูป2มิติ และ3มิติ ให้เกิดมุมมองใหม่ที่สวยงามและสามรนำไปใช้ในโอกาศต่างๆตามความเหมาะสม การออกแบบคือการสร้างสรรค์ปรุงแต่งของงานศิลปะต่างๆเช่น เส้น สี เงา แสง และลักษณะพื้นผิวต่างๆ ขรุขระ เรียบ นูน เป็นต้น   
การออกแบบกราฟฟิกยังหมายถึงการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดออกมาเป็นรูบลักษณ์ต่างๆเช่น หนังสือนิตยสาร ภาพยนต์ ป้ายโฆษณา โทรทัศน์ โปสเตอร์ นิทรรศการ เพื่อให้ผู้อ่านรับรู้ถึงความหมายที่ผู้นำเสนอต้องการสื่อผู้อ่านจะเข้าใจความหมายได้ทางสายตา เช่น เครื่องหมายสัญลัญณ์ ตักอักษร รูปภาพ สีสัน ตลอดจนเทคนิคการสร้างภาพต่างๆทางเครื่องมือให้เกิดเป็นรูปร่างที่ผู้นำเสนอต้องการสื่อ

 

 


สรุป
การออกแบบกราฟฟิกคือ การสร้างสรรค์ผลงานต่างๆจากความคิดความรู้สึกผ่านกระบวนการทางเทคโนโลยีเพื่อนำเสนอให้ผู้รับสารเข้าใจถึงสิ่งที่ผูนำสารต้องการสื่อออกมาในรูปแบบ หนังสือนิตยสาร ตราสัญลักษณ์ การโฆษณา ผู้รับสารจะรับรู้ได้ทางสายตาและผ่านกระบวนการคิดและเข้าใจในสิ่งที่ผู้นำสารต้องการสื่ออย่างชัดเจนไม่ว่าจะเป็นสีสัน รูปแบบและตัวอักษร


อ้างอิงจาก : หนังสือ การออกแบบกราฟฟิค ,ผู้เขียน ประชิด ทินบุตร,พิมพ์เมื่อ พ.ศ.2530


     --------------------------------------------------------------------------------------------------------------


การออกแบบบรจุภัณฑ์ packaging Design

การออกแบบ ( Design ) คือศาสตร์แห่งความคิด และต้องใช้ศิลป์ร่วมด้วย เป็นการสร้างสรรค์ และการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ เพื่อสนองต่อจุดมุ่งหมาย และนำกลับมาใช้งานได้อย่างน่าพอใจ ความน่าพอใจนั้น แบ่งออกเป็น 3 ข้อหลักๆ ได้ดังนี้
1. ความสวยงาม เป็นสิ่งแรกที่เราได้สัมผัสก่อน คนเราแต่ละคนต่างมีความรับรู้เรื่อง ความสวยงาม กับความพอใจ ในทั้ง 2 เรื่องนี้ไม่เท่ากัน จึงเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันอย่างมาก และไม่มีเกณฑ์ ในการตัดสินใดๆ เป็นตัวที่กำหนดอย่างชัดเจน ดังนั้นงานที่เราได้มีการจัดองค์ประกอบที่เหมาะสมนั้น ก็จะมองว่าสวยงามได้เหมือนกัน
2. มีประโยชน์ใช้สอยที่ดี เป็นเรื่องที่สำคัญมากในงานออกแบบทุกประเภท เช่นถ้าเป็นการออกแบบสิ่งของ เช่น เก้าอี้,โซฟา นั้นจะต้องออกแบบมาให้นั่งสบาย ไม่ปวดเมื่อย ถ้าเป็นงานกราฟฟิค เช่น งานสื่อสิ่งพิมพ์นั้น ตัวหนังสือจะต้องอ่านง่าย เข้าใจง่าย ถึงจะได้ชื่อว่าเป็นงานออกแบบที่มีประโยชน์ใช้สอยที่ดีได้
3. มีแนวความคิดในการออกแบบที่ดี เป็นหนทางความคิด ที่ทำให้งานออกแบบสามารถตอบสนอง ต่อความรู้สึกพอใจ ชื่นชม มีคุณค่าบางคนอาจให้ความสำคัญมากหรือน้อย หรืออาจไม่ให้ความสำคัญเลยก็ได้ ดังนั้นบางครั้งในการออกแบบ โดยใช้แนวความคิดที่ดีอาจจะทำให้ผลงาน หรือสิ่งที่ออกแบบมีคุณค่ามากขึ้นก็ได้

บรรจุภัณฑ์ ( package )

บรรจุภัณฑ์คือสิ่งที่ห่อหุ้ม หรือบรรจุผลิตภัณฑ์ รวมถึงภาชนะที่ใช้เพื่อการขนส่งผลิตภัณฑ์ จากแหล่งผลิต ไปยังแหล่งผู้บริโภค เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน รักษาผลิตภัณฑ์ไม่ให้ชำรุดเสียหาย
บรรจุภัณฑ์หรือการบรรจุหีบห่อ คือศาสตร์และศิลป์ที่ใช้ในการบรรจุสินค้าโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อการคุ้มครองปกป้องสินค้าจากผู้ผลิตจนถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัยด้วยต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม
สิ่งห่อหุ้ม หรือบรรจุผลิตภัณฑ์ รวมถึงภาชนะที่ใช้เพื่อการขนส่งผลิตภัณฑ์  จากแหล่งผลิต ไปยังแหล่งผู้บริโภค  เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน รักษาผลิตภัณฑ์ไม่ให้ชำรุดเสียหาย
จากความหมายพอสรุปได้ว่าบรรจุภัณฑ์นั้นหมายถึง เรื่องของ วิทยาศาสตร์ และเรื่องของศิลปะที่ใช้เพื่อการบรรจุสินค้าโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและทำให้เกิดความเสียหายกับสิ่งแวดล้อม และบรรจุภัณฑ์นั้นจะต้องปกป้องตัวสินค้าให้อยู่ในสภาพที่ดีจากแหล่งผลิตจนถึงมือลูกค้าโดยไม่ให้ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้บรรจุภัณฑ์นั้น ๆ จะต้องมีต้นทุนของการผลิตที่ไม่สูงจนเกินไป













สรุป
กาออกแบบบรรจภัณฑ์คือ การสร้างสรรค์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้คนได้อย่างหลากหลายทั้งรูปแบบ สีสันไม่ว่าจะเป็นกล่อง ถุง กระดาษ หีบห่อนั่นคือรูปลักษณ์ภายนอกที่บรรจุผลิตตภัณฑ์นั้นๆไว้
เพราะฉนั้นการออกแบบบบรจุภัณฑ์คือการสร้างสิ่งเดิมในรูปแบบใหม่เป็นการสร้างเอกลักษณ์พิเศษที่ดึงดูดและสร้างการจดจำตลอดจนเข้าถึงความหมายและคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ เช่น สีสันสวยงาม ความแข็งแรง ชนิด และคุณภาพของผลิตภัณฑ์

แหล่งอ้างอิง/ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : http://netra.lpru.ac.th/~weta/c1/c1_print.html


 --------------------------------------------------------------------------------------------------------------


วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สรุปการผลการเรียนวันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม 2557 (ครั้งที่1)

วิชาการออกแบบกราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์ (ARTD3302)

แนะนำการเรียนการสอนเกี่ยวกับรายวิชา
-โจทย์ ให้ศึกษาความหมายของคำว่า "กราฟฟิก" การออกแบบกราฟฟิก,และ ออกแบบบรรจุภัณฑ์
โดยอ้างอิงจากแหล่งที่มาได้ไม่เกิน3บรรทัดพร้อมภาพประกอบ
  สร้างบล็อกใหม่ที่ใช้ในรายวิชาการออกแบบกราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์
  ศึกษาค้นคว้าจากหนังสือได้อย่างน้อย1เล่มพร้อมถ่ายปกหนังสือ หน้าสารบัญ แหล่งอ้างอิงมาอย่างน้อย3แหล่ง พร้อมรวบรวมข้อมูลและสรุปออกมาให้ได้1หน้าเพจ ในบล็อคของแต่ละคน

-จัดแบ่งกลุ่ม8กลุ่มละ5-6คนในแต่ละกลุ่มจะมีสมาชิกได้ไม่เกิน6คน และแบ่งให้แต่ละกลุ่มทำแบบสำรวจประเมินเรื่องการออกแบบพัฒนาสินค้าการเกษตรของวิสาหกิจชุมนชน จ.ชัยนาถ
-หลังจากจัดกลุ่มเสร็จให้หัวหน้านำรายชื่อสมาชิกของตนเองส่งที่ Google Drive
-โดยแต่ละกลุ่มจะได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสินค้าของแต่ละอำเภอของจังหวัดชัยนาถแบ่งได้ดังนี้
กลุ่มที่1 -อำเภอเมืองชัยนาถ
กลุ่มที่2 -อำเภอมโนรมย์
กลุ่มที่3 -อำเภอหันคา
กลุ่มที่4 -อำเภอวัดสิงค์
กลุ่มที่5 -อำเภอเนินขาม
กลุ่มที่6 -อำเภอสรรพยา
กลุ่มที่7 -อำเภอหนองมะโมง
กลุ่มที่8 -อำเภอสรรคบุรี

แหล่งที่หาข้อมูลแปลสรุปข่าว http://www.pinterest.com/http://www.thedieline.com/,การออกแบบกราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์, packagingdesigncourse.blogspot.com และอื่นๆ

Program ที่ต้องใช้ในการศึกษา
-Sketch up
-Illustrator
-Photoshop
-Corel Draw
-Rhino 3D

อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการศึกษา
-สายวัด
-คาลิปเปอร์
-สมุดสเก็ต, กระดาษขนาดA4
-ดินสอ2b
-แฟ้มเก็บงาน
-แผ่นรองตัด
-วงเวียน, คัดเตอร์

ในสัปดาห์ถัดไปให้ให้แต่ละกลุ่มเอาตัวอย่างสินค้าการเกษตรของวิสาหกิจชุมนชน จ.ชัยนาถโดยแต่ละกลุ่มจะศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับอำเภอที่แต่ละกลุ่มได้จัดไว้แล้ว มาคนละ1ชิ้นโดยเป็นสินค้าเพื่อสุขภาพและความงามเช่น สมุนไพร,สินค้าเกี่ยวกับสปา โดยหาข้อมูล ประวัติ ความเป็นมา จัดอยู่ในประเภทใด หมวดหมู่ไหน และชนิดของสินค้าและผลิตภัณฑ์นั้นๆ