วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปผลการเรียนวันจันทร์ที่ 22 กันยายน 2557 (ครั้งที่ 6)

ศึกษาเกี่ยวกับฉลากผลิตภัณฑ์,ฉลากสินค้าและบาร์โค้ด (Barcode) รหัสแท่ง

ฉลากผลิตภัณฑ์

ตัวอย่างภาพฉลากผลิตภัณฑ์


                                                            ที่มา : pr.prd.go.th



                                                         ที่มา : www.vannaherb.com

ข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์
รายการข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์ที่สำคัญแลควรทราบได้แก่
1. วันผลิตสินค้า สัญลักษณ์ "MED"
2. วันหมดอายุ สัญลักษณ์ "EXP"
3. ข้อมูลแสดงถึงส่วนประกอบของสินค้านั้น
4. ผู้ผลิตและจำหน่าย สัญลักษณ์ "ผลิตและจัดจำหน่ายโดย..."
5. เลขทะเบียนการค้าตามชนิดของสินค้า
6. ปริมาณสุทธิของขนาดบรรจุ
7. ฉลากข้อมูลโภชนาการ

เทคโนโลยีการพิมพ์และการติดฉลากแบบใหม่
ปริญญา ขำสาธร

การขาดการสื่อสารที่ดีต่อกันที่จุดขายทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้ผลิตสินค้ากับผู้บริโภคหยุดชะงักลง เช่น ผู้ผลิตขนมปังไม่สามารถแจ้งต่อผู้บริโภคได้ว่าขนมปังจะหมดอายุเมื่อใด ฉลากจึงได้เข้ามามีบทบาท เป็นสื่อกลางที่ให้ ความสัมพันธ์อันดีดำเนินต่อไป ฉลากสามารถบอกวันหมดอายุ ส่วนผสมคุณค่าทางโภชนาการและข้อมูลอื่นๆ ได้ ปัจจุบันประชาคมยุโรปและทั่วโลกได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับฉลากมาใช้กันอย่างมาก มายผู้ผลิตรายใหญ่ๆ ที่ผลิตสินค้าไม่กี่ชนิด มักจะไม่มีปัญหาในการพิมพ์วันหมดอายุ ชุดตัวเลข บาร์โค้ด เพราะสามารถพิมพ์ลงบนบรรจุภัณฑ์ก่อนหรือหลังการบรรจุได้ แต่ผู้ผลิตรายเล็กที่มีสินค้าหลากหลาย การพิมพ์ดังกล่าวจะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายมากขึ้นและเสี่ยง ต่อการนำ สินค้าบรรจุผิดกล่อง วิธีแก้ปัญหาและลดต้นทุนคือ การพิมพ์บนฉลากกระดาษและนำไปติดบนบรรจุภัณฑ์ ณ จุดสุดท้ายของการผลิต สมัยก่อนระบบการพิมพ์และติดฉลากไม่มีทางเลือกมากนัก ต้องใช้ น้ำหมึกและฟอยล์ที่ไวต่อความร้อนซึ่ง พิมพ์ได้ช้า จนกระทั่งได้มีการประดิษฐ์คิดค้นกรรมวิธีการพิมพ์ แบบเทอร์มัล ( thermal printing) ขึ้นมาใช้ โดยพัฒนาจากอุปกรณ์ทางทหาร ความร้อนจากหัวพิมพ์จะสัมผัสกับกระดาษที่เคลือบด้วยสารไวต่อความร้อนแล้ว เปลี่ยนสีขาวของ กระดาษไปเป็นสีเทาดำ ความกว้างของเส้นจะมีขนาด 1 มิลลิเมตร สามารถพิมพ์ตัวอักษร ตัวเลข และกราฟิก ตลอดจนจุดเมตริกได้ แต่ฉลากแบบนี้เมื่อโดนแสงอัลตราไวโอเลตนานๆ จะจางลง จึงได้นำฟอยล์มาใช้ในการแก้ปัญหาดังกล่าว ทำให้สามารถพิมพ์ฉลากได้ 2 สี โดยนำฟอยล์ 2 สี มาพิมพ์พร้อมกัน และความลื่นของฟอยล์เองก็จะช่วยยืดอายุการใช้งานของหัวพิมพ์ได้อีกด้วย จากนั้นได้มีการพัฒนาให้เครื่องพิมพ์ฉลากแบบนี้สามารถพิมพ์ได้ ละเอียดมากถึง 12 จุดต่อ มม. จึงพิมพ์บาร์โค้ดเล็กๆ ได้โดยไม่มีปัญหา สิ่งที่สำคัญคือการแก้ปัญหาในการติดฉลาก เนื่องจากเครื่อง ติดฉลากมีความเร็ว 30 เมตร/นาที ส่วนการพิมพ์ฉลากมีความเร็วเพียง 125 มิลลิเมตร/วินาที ซึ่งเป็นสัดส่วน 4 ต่อ 1 จึงต้องสำรองฉลาก ที่พิมพ์ไว้แล้วในม้วนระหว่างหัวพิมพ์กับเครื่องติดฉลาก การพัฒนาเครื่องพิมพ์ และติดฉลากแบบนี้ได้คำนึงถึงความแม่นยำในการติดฉลาก และความสะดวกในการติดตั้ง บุคคลที่ไม่มีความรู้ทางช่างก็สามารถติดตั้งได้ และเครื่องก็ไม่ต้องการ การบำรุงรักษามากมายนัก อีกทั้งสามารถใช้กับการผลิตสินค้าที่ต้องการความสะอาด นอกจากนี้ได้มีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาควบคุมในการติดฉลากให้แม่นยำมาก ขึ้น และสามารถเปลี่ยนข้อมูลที่หลากหลายของสินค้าได้สะดวกรวดเร็ว ทันต่อสินค้า

บรรจุภัณฑ์ในทศวรรษหน้า
ศิริวรรณ แสงนิกรเกียรติ
บรรจุภัณฑ์ในปี ค.ศ. 2005 จะเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบ วัสดุที่ ใช้ และเทคนิคการตกแต่ง พัฒนาการของการผลิตพลาสติกโดยเฉพาะเทอร์โมฟอร์มจะเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ ชัด โดยนำไปสู่การผลิตภาชนะบรรจุ ที่ลดต้นทุนลงและอย่างน้อยที่สุดจะต้องมีพลาสติกชนิดใหม่ 1 ชนิด เข้าสู่วงจรบรรจุภัณฑ์ ซึ่งอาจเป็นพอลิคีโตน ส่วนโฟมจะถูกนำไปประยุกต์ ใช้มากขึ้น อาจมีการพัฒนาใช้กับตัวสกัดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของวัสดุ บรรจุภัณฑ์ ภายในปี ค.ศ. 2005 การใช้เทคโนโลยีร่วมของการพิมพ์และ การตกแต่งในขั้นตอนการผลิตจะมีผลต่อการผลิตบรรจุภัณฑ์ อย่างแน่นอน

กระดาษ คาด ว่าการผลิตกระดาษของยุโรปจะเพิ่มขึ้นไปพร้อมๆ กับการนำกระดาษเก่ามาเข้ากระบวนการ ผลิตใหม่ ซึ่งการส่งออกกระดาษ ไปยังจีนและอินเดียจะมีการ เติบโต แต่ควรคำนึงถึงปริมาณการจัดเก็บกระดาษเก่า เพื่อเป็นวัตถุดิบต้องให้เพียงพอกับปริมาณความต้องการใช้ ของผู้บริโภคสุดท้าย

พลาสติก การใช้พอลิสไตรีนในบรรจุภัณฑ์ จะลดลง เพราะถูกแทนที่ด้วยวัสดุชนิดอื่น ในขณะที่ PVC
จะถูกใช้เพิ่มขึ้น แต่ที่จะมีการเติบโตสูงสุดเห็นจะได้แก่ พอลิโพรพิลีน และ PET

โลหะ ปัจจัยสำคัญที่มีผล ต่อการเติบโตของโลหะก็คืออัตราการเติบโตของการนำกระป๋องเหล็กและอะลูมิเนียม มาแปรใช้ใหม่ ซึ่งอาจสูงถึงร้อยละ 70 ของการผลิตในยุโรปภายในปี ค.ศ. 2005 ทำให้ตัวเลขการเติบโตของอะลูมิเนียมดูดีขึ้นมากและช่วยในส่วนของโลหะชนิด อื่นที่มีผลการดำเนินการไม่ดีนัก

แก้ว บรรจุ ภัณฑ์แก้วมีการเติบโตอย่างช้าๆ ด้วยพัฒนาการด้านการลดน้ำหนักลง และคาดว่าจะเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ สำหรับการทำนายเป็นไปได้ยากเพราะขาดข้อมูลการผลิต

ฟิล์มอ่อนตัว จาก แนวโน้มของพัฒนาการแสดงให้เห็นว่า บรรจุภัณฑ์ประเภทฟิล์มอ่อนตัวยังคงรูปแบบของการเติบโตต่อไป รวมไปถึงการใช้ liquid crystal polymer ในฟิล์มที่ทำหน้าที่เป็น ตัวสกัดกั้นเพิ่มขึ้น copolyamide แบบใหม่ และการพัฒนา clayloaded nylon ของญี่ปุ่น วัสดุประกอบ polyketone, metallocenebased polyolefin และฟิล์มละลายหรือรับประทานได้จะมีบทบาทสำคัญในบรรจุภัณฑ์ยุคใหม่ ขณะเดียวกับที่มีการปรับปรุงคุณภาพของฟิล์มบางประเภทไปด้วย ตัวอย่างเช่น ฟิล์ม oriented HDPE จาก Mobil Plastic ที่มีความเหนียวสูงเป็นพิเศษ วัสดุแทนฟอยล์ในการประกบและ PVDC จะมีบทบาทมากขึ้นในการใช้งานร่วมกับฟิล์มอะลูมิเนียม ซิลิคอนไดออกไซด์และอะลูมิเนียมออกไซด์ ส่วนแลกเกอร์จะเป็นประเภท acrylic, EVOH และแลกเกอร์ตัวใหม่จาก ICI ที่ใช้กับ Melinar PET โดยผู้ผลิตรายเดียวกัน

วัสดุประกอบอื่นๆ กาว และหมึกพิมพ์จะได้รับการปรับปรุง โดยมีพัฒนาการของประเภทน้ำเป็นหลัก เทปปิดผนึกที่ใช้กระดาษเป็นหลักจะได้รับความนิยมมากขึ้น รวมไปถึงเทปกระดาษแบบมีกาวติดในตัว ฉลากหดรัดรูปทั้งแบบ inmould และ shrink sleeve label จะมีบทบาทมากขึ้น นอกจากนี้ฉลากห่อพันรอบ ( wraparound film label) สำหรับกระป๋องโลหะ ก็จะมีการพัฒนาคุณภาพการพิมพ์ การป้องกันการพิมพ์ซ้ำ ความยืดหยุ่นในการผลิต ร่วมด้วยการลดพื้นที่ในการจัดเก็บกระป๋องในคลังสินค้า

แหล่งข้อมูล
วารสารอุตสาหกรรมสาร ฉบับเดือน กรกฎาคม - สิงหาคม 2546



ฉลากสินค้า

ภาพตัวอย่างฉลากสินค้า


                                                         ที่มา : www.printexpress.in.th

เมื่อพูดถึง “ฉลากสินค้า” ทุกท่านที่เป็นผู้บริโภคคงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ไม่รู้จักฉลากสินค้า เพราะในชีวิตประจำวันผู้บริโภคสามารถพบเห็นฉลากสินค้าได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นฉลากยา ฉลากอาหาร ฉลากเครื่องสำอาง ฉลากเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือฉลากสินค้าอื่น ๆ อีกมากมาย แล้วฉลากสินค้ามีความสำคัญกับผู้บริโภคอย่างไร
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ได้กำหนดให้ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองไว้ 5 ประการ คือ

1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ 2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ 3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ 4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา 5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย
โดยพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 กำหนดว่า “ฉลาก” หมายถึง รูป รอยประดิษฐ์ กระดาษหรือสิ่งอื่นใดที่ทำให้ปรากฏข้อความเกี่ยวกับสินค้าซึ่งแสดงไว้ที่สินค้าหรือภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อบรรจุสินค้าหรือสอดแทรก หรือรวมไว้กับสินค้า หรือภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อบรรจุสินค้า และหมายความรวมถึงเอกสารหรือคู่มือสำหรับใช้ประกอบสินค้า ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่สินค้าหรือภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุสินค้านั้น
“ฉลากของสินค้า” จะต้องระบุข้อความดังนี้
- ชื่อประเภทหรือชนิดของสินค้าที่แสดงให้เข้าใจได้ว่าสินค้านั้นคืออะไร กรณีที่เป็นสินค้าที่สั่งหรือนำเข้ามาเพื่อขาย จะต้องระบุประเทศที่ผลิตด้วย เช่น โทรทัศน์สี คอมพิวเตอร์ สมุดพิมพ์เขียน น้ำหอมปรับอากาศ ผลิตในประเทศญี่ปุ่น ผลิตในประเทศมาเลเซีย ฯลฯ
- ชื่อผู้ประกอบการหรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยของผู้ผลิตเพื่อขายในประเทศไทย
- ชื่อผู้ประกอบการหรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยของผู้สั่งหรือผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย
-สถานที่ตั้งของผู้ผลิตเพื่อขายหรือของผู้สั่งหรือผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย
- ต้องแสดงปริมาณ หรือขนาด หรือปริมาตร หรือน้ำหนักของสินค้า
- ต้องแสดงวิธีใช้ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าสินค้านั้นใช้เพื่อสิ่งใด เช่น ใช้ทำความสะอาดพื้นไม้หรือพื้นกระเบื้อง ภาชนะเคลือบใช้ตั้งบนเตาไฟ ฯลฯ
- ข้อแนะนำในการใช้หรือห้ามใช้ เพื่อความถูกต้องในการใช้ที่ให้ประโยชน์แก่ผู้บริโภค เช่น ห้ามใช้ของมีคมกับการแซะน้ำแข็งในตู้เย็น ควรเก็บสินค้าไว้ในที่ร่มและไม่เปียกชื้น ฯลฯ
- คำเตือน (ถ้ามี)
- วัน เดือน ปี ที่ผลิต หรือวัน เดือน ปีที่หมดอายุ หรือวัน เดือน ปี ที่ควรใช้ก่อน (ถ้ามี)
- ราคาต้องระบุหน่วยเป็นบาท และจะระบุเป็นเงินสกุลอื่นด้วยก็ได้ นอกจากนี้สินค้าที่ควบคุมฉลากตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ได้แก่ สินค้าที่ผลิตเพื่อขายโดยโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน (กรณีจะเข้าข่ายเป็นโรงงานก็คือใช้แรงงานตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป หรือใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 5 แรงม้าขึ้นไป) สินค้าที่สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายและคณะกรรมการว่าด้วยฉลากยังมีอำนาจออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก กำหนดให้สินค้าที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพร่างกาย หรือจิตใจ เนื่องในการใช้สินค้าหรือโดยสภาพของสินค้านั้น หรือสินค้าทั่วไปใช้เป็นประจำ
การกำหนดฉลากของสินค้านั้นจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค ในการที่จะทราบข้อเท็จจริงในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้านั้น เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลากได้ สำหรับการแสดงข้อความในฉลากสินค้าต้องใช้ข้อความที่ตรงต่อความเป็นจริง และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้านั้น ๆ ในกรณีที่สินค้านั้น ๆ มีกฎหมายของหน่วยงานราชการอื่นควบคุมในเรื่องฉลากอยู่แล้ว ก็ให้จัดทำฉลากตามกฎหมายนั้น ๆ เช่น อาหารต้องจัดทำฉลากตามพระราชบัญญัติอาหาร ฯลฯ
เมื่อฉลากสินค้าเป็นแหล่งข้อมูลในการอุปโภค และบริโภคของผู้บริโภค ซึ่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ได้กำหนดสิทธิที่ผู้บริโภคจะต้องได้รับข่าวสาร ดังนั้นไม่ว่าจะก่อนซื้อหรือก่อนใช้สินค้าหรือบริการ หยุดให้ความสำคัญอ่านฉลากสักนิดเพื่อคุณภาพชีวิตของผู้บริโภค.

บาร์โค้ด (Barcode) คืออะไร




                                                           ที่มา : www.clipmass.com

บาร์โค้ด(barcode) หรือในภาษาไทยเรียกว่า “รหัสแท่ง” ประกอบด้วยเส้นมืดประกอบด้วยเส้นมืด (มักจะเป็นสีดำ) และเส้นสว่าง(มักเป็นสีขาว)วางเรียงกันเป็นแนวดิ่ง เป็นรหัสแทนตัวเลขและตัวอักษร ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถอ่านรหัสข้อมูลได้ง่ายขึ้น โดยใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) ซึ่งจะทำงานได้รวดเร็วและช่วยลดความผิดพลาดในการคีย์ข้อมูลได้มาก บาร์โค้ดเริ่มกำเนิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1950 โดยประเทศสหรัฐอเมริกาได้จัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจทางด้านพาณิชย์ขึ้นสำหรับค้นคว้ารหัสมาตรฐานและสัญลักษณ์ที่สามารถช่วยกิจการด้านอุตสาหกรรมและสามารถจัดพิมพ์ระบบบาร์โค้ดระบบ UPC-Uniform ขึ้นได้ในปี 1973 ต่อมาในปี 1975 กลุ่มประเทศยุโรปจัดตั้งคณะกรรมการด้านวิชาการเพื่อสร้างระบบบาร์โค้ดเรียกว่า EAN-European Article Numbering สมาคม EAN เติบโตครอบคลุมยุโรปและประเทศอื่นๆ(ยกเว้นอเมริกาเหนือ) และระบบบาร์โค้ด EAN เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี1987

โดยหลักการแล้วบาร์โค้ดจะถูกอ่านด้วยเครื่องสแกนเนอร์ บันทึกข้อมูลเข้าไปเก็บในคอมพิวเตอร์โดยตรงไม่ต้องกดปุ่มที่แท่นพิมพ์ ทำให้มีความสะดวก รวดเร็วในการทำงานรวมถึงอ่านข้อมูลได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เชื่อถือได้ และจะเห็นได้ชัดเจนว่าปัจจุบันระบบบาร์โค้ดเข้าไปมีบทบาทในทุกส่วนของอุตสาหกรรมการค้าขาย และการบริการ ที่ต้องใช้การบริหารจัดการข้อมูลจากฐานข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และปัจจุบันมีกระประยุกต์การใช้งานบาร์โค้ดเข้ากับการใช้งานของMobile Computer ซึ่งสามารถพกพาได้สะดวก เพื่อทำการจัดเก็บแสดงผล ตรวจสอบ และประมวลในด้านอื่นๆ ได้ด้วย

วิวัฒนาการ บาร์โค้ด

เดิมนั้น บาร์โค้ด จะถูกนำมาใช้ในร้านขายของชำ, ปกหนังสือ, ร้านอุปกรณ์ประกอบรถยนต์และร้านอุปโภคบริโภคทั่วไป ในแถบยุโรป รถบรรทุกทุกคันที่จะต้องวิ่งระหว่างประเทศฝรั่งเศสและประเทศเยอรมนี จะต้องใช้แถบรหัสบาร์โค้ดที่หน้าต่างทุกคันเพื่อใช้ในการแสดงใบขับขี่ ใบอนุญาต และน้ำหนักรถบรรทุกเพื่อให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรสามารถตรวจได้ง่ายและรวดเร็ว ในขณะที่รถลดความเร็วเครื่องตรวจจะอ่านข้อมูลจากบาร์โค้ด และแสดงข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ทันที

ปัจจุบันวิวัฒนาการของบาร์โค้ด พัฒนาไปมาก ทั้งรูปแบบและความสามารถในการเก็บข้อมูล โดยบาร์โค้ดที่ใช้ในยุคสมัยนี้มีทั้งแบบ1 มิติ 2 มิติ และ 3 มิติ แต่ที่เราใช้กันทั่วไปในสินค้านั้นเป็นแบบมิติเดียว บันทึกข้อมูลได้จำกัดตามขนาดและความยาว โดยบาร์โค้ด 2 มิติ จะสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่าแบบอื่นๆ มาก และขนาดเล็กกว่า รวมทั้งสามารถพลิกแพลงการใช้งานได้มากกว่าขนาดที่ว่าสามารถซ่อนไฟล์ใหญ่ ๆ ทั้งไฟล์ลงบนรูปภาพได้เลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม บาร์โค้ด 2 มิติ ก็ยังไม่เสถียรพอ ทำให้การนำมาใช้งานหลากหลายเกินไปจนอาจเกิดปัญหาการใช้งานร่วมกันและต้องใช้เครื่องมือเฉพาะของมาตรฐานนั้น ๆ ในการอ่านซึ่งในปัจจุบันมีความพยายามที่จะกำหนดมาตรฐานของบาร์โค้ด 2 มิติ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิคส์ และ อุตสาหกรรมยา/เครื่องมือแพทย์ ที่มีความต้องการใช้งานบาร์โค้ดที่เล็กแต่บรรจุข้อมูลได้มากจนได้บาร์โค้ดลูกผสมระหว่าง 1 มิติกับ 2มิติขึ้นมา ในชื่อเดิมคือ RSS Reduce Space Symbol หรือชื่อใหม่คือ GS1 DataBar



ส่วนบาร์โค้ด 3 มิติคือความพยายามที่จะแก้ข้อจำกัดของบาร์โค้ด ที่มีปัญหาในสภาวะแวดล้อมที่โหด ๆ เช่นร้อนจัด หนาวจัด หรือมีความเปรอะเปื้อนสูง เช่น มีการพ่นสี พ่นฝุ่นตลอดเวลา ซึ่งส่วนใหญ่จะพบการใช้ บาร์โค้ด 3 มิติ ในอุตสาหกรรมหนัก ๆ เช่น เครื่องจักร เครื่องยนต์ โดยจะยิงเลเซอร์ลงบนโลหะ เพื่อให้เป็นบาร์โค้ดหรือจัดทำให้พื้นผิวส่วนหนึ่งนูนขึ้นมาเป็นรูปบาร์โค้ด (Emboss) นั่นเอง



ประเภทของ บาร์โค้ด
โค้ดภายใน (Internal Code) เป็นบาร์โค้ดที่ทำขึ้นใช้เองในองค์กรต่างๆ ไม่สามารถนำออกไปใช้ภายนอกได้
โค้ดมาตรฐานสากล (Standard Code)เป็นบาร์โค้ดที่เป็นที่รู้จัก และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกมีประมาณ 11 ระบบ ได้แก่
ระบบ EAN(European Article Numbering) เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2519 มีประเทศต่าง ๆ ใช้มากกว่า 90 ประเทศทั่วโลกในภาคพื้นยุโรป เอเชีย และแปซิฟิก, ออสเตรเลีย, ลาติน อเมริกา รวมทั้งประเทศไทย ทั้งนี้ EAN มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม
ระบบ UPC(Universal Product Code) เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2515 ซึ่งกำหนดมาตรฐานโดย Uniform Code Council.Inc ใช้แพร่หลายในประเทศสหรัฐอเมริกาและ แคนาดา
CODE 39เริ่มใช้ในปี 2517ในธุรกิจอุตสาหกรรมเป็นบาร์โค้ดระบบแรกที่ใช้รวมกับตัวอักษรได้ เก็บข้อมูลได้มาก
INTERLEAVE 1 of 5 หรือเรียกว่า ITF เป็นบาร์โค้ดตัวใหญ่ใช้กับหีบบรรจุสินค้าหรือเรียก Cass Code
CODABAR ถูกพัฒนาขึ้นมาใช้กับธุรกิจเวชภัณฑ์ในปี 2515
CODE 128ได้ถูกพัฒนาขึ้นและยอมรับว่าได้ใช้เป็นทางการในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2524นิยมใช้ในวงการดีไซเนอร์และแฟชั่นปัจจุบันกำลังเริ่มนิยมใช้ในสหรัฐอเมริกา
CODE 93เริ่มพัฒนาขึ้นในปี 2525ปัจจุบันเริ่มนิยมใช้ในวงการอุตสาหกรรม
CODE 49เริ่มพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ.2530โดยพัฒนาจาก CODE 39ให้บรรจุข้อมูลได้มากขึ้น ในพื้นที่เท่าเดิม
CODE 16k เหมาะสำหรับใช้กับอุตสาหกรรมผลิตสินค้าที่เล็กมากมีพื้นที่ในการใส่บาร์โค้ดน้อย เช่น อุปกรณ์อะไหล่ เครื่องไฟฟ้า
ISSN/ ISBN [International StandardBook Number] ใช้กับหนังสือ และนิตยสาร
EAN/ UCC 128 หรือShipping Container Code เป็นระบบใหม่ โดยการร่วมมือระหว่าง EAN ของยุโรป และ UCC ของสหรัอเมริกาโดยเอาระบบ EAN มาใช้ร่วมกับCODE 128 เพื่อบอกรายละเอียดของสินค้ามากขึ้น เช่น วันเดือนปีที่ผลิต ครั้งที่ผลิต วันที่สั่งซื้อ มีกี่สี กี่ขนาด เป็นต้น

โดยประเทศไทยไทยเริ่มใช้บาร์โค้ดอย่างจริงจังในปี2536 โดยมีสถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย “Thai Article Numbering Council” หรือ “TANC” เป็นองค์กรตัวแทนของ”EAN” ภายใต้การดูแลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ระบบ EAN ที่ประเทศไทยใช้นั้นจะมีลักษณะเป็นเลขชุด 13 หลัก ซึ่งมีความหมายดังนี้


หมายเลข 1 สัญลักษณ์แท่งสีเข้มสลับสีอ่อนสำหรับอ่านด้วยเครื่องสแกนเนอร์

หมายเลข 2 885 : ตัวเลข 3 หลักแรก คือรหัสของประเทศไทย

หมายเลข 3 0000 : ตัวเลข 4 ตัวถัดมา เป็นรหัสโรงงานที่ผลิต หรือรหัสสมาชิก

หมายเลข 4 11111 : 5 ตัวถัดมาเป็นรหัสสินค้า

หมายเลข 5 2 : ตัวเลขหลักสุดท้ายเป็นตัวเลขตรวจสอบเลข 12 ข้างหน้าว่ากำหนดถูกต้องหรือไม่ ถ้าตัวสุดท้ายผิด บาร์โค้ดตัวนั้นจะอ่านไม่ออกสื่อความหมายไม่ได้


ประเภทฟิล์มยืดพันพาเลท LLDPE (Stretch Film)

ฟิล์มยืดพันพาเลท (Stretch Film) มีคุณสมบัติเฉพาะคือ มีความเหนียวและยืดหยุ่นตัวสูง ฟิล์มยืดจะเกาะติดกันเองได้เมื่อดึงฟิล์มยืดให้ยืดออกเล็กน้อย ทำให้สะดวกในการใช้งานเนื่องจากไม่ต้องใช้ความร้อนทำให้ฟิล์มยืดเกาะติดกัน ฟิล์มยืดผลิตจากเม็ดพลาสติก LLDPE (Linear Low Density Polyethylene) มีคุณสมบัติเหนียวและความยืดหยุ่นสูงกว่าฟิล์มชนิดอื่น ๆ จึงสามารถต้านแรงเจาะทะลุได้ดี สามารถใช้ฟิล์มยืดพันสินค้าที่มีมุมแหลมได้โดยไม่ฉีกขาดง่าย มีความบางและใสจึงสามารถมองเห็นสินค้าได้
ฟิล์มยืดเอนกประสงค์(พิเศษ) / ฟิล์มยืดพันพาเลท ใช้พันสินค้าที่อยู่บนพาเลท บนเสาคอนกรีต ห่อหุ้มสินค้าเอนกประสงค์ ทางเลือกใหม่ของการบ่มคอนกรีตและการห่อหุ้มสินค้าเอนกประสงค์ เนื่องจากฟิล์มยืดทำจากเชื้อพลาสติก PE+LLD จึงไม่มีสารพิษ และเป็นฟิล์มที่ สามารถยืดตัวได้ จึงใช้งานได้มากขึ้น และมีกาวอ่อนๆในตัว จึงสามารถติดตัวกันได้ โดยไม่ต้องใช้เทปกาว จึงเหมาะกับการใช้งานเป็นอย่างมาก


                                                          ที่มา : scg-group.webiz.co.th

ในกระบวนการผลิตของฟิล์มยึดจำเป็นต้องใส่สารแต่งเติมที่เรียกว่า สารเกาะติด (cling agent) เพื่อช่วยให้ฟิล์มยืดสามารถเกาะติดกันเองได้ดีโดยไม่ต้องใช้ความร้อน ขณะใช้งานจะไม่มีคราบกาวติดหลงเหลืออยู่ในสินค้าหรือพาเลทและด้วยคุณสมบัติ หลาย ๆ อย่าง จึงทำให้ฟิล์มยืดเป็นสินค้าแพ็คเก็จจิ้งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายใน อุตสาหกรรมที่ต้องการห่อรัดสินค้าบนแท่นรองรับเพื่อการลำเลียง โดยประโยชน์ของฟิล์มยืด มีดังนี้
ห่อคลุมสินค้ากันการเปรอะเปื้อน ป้องกันฝุ่นเหมาะสำหรับงานเฟอร์นิเจอร์ คลุมสินค้าที่ต้องการยึดแนบสินค้า แพ็คงานเพื่อการส่งออก
บ่มเสาคอนกรีต , พันเสา
รวมสินค้าหลาย ๆ หน่วยให้เป็นหน่วยใหญ่ เพื่อช่วยให้สะดวกต่อการขนส่ง
ป้องกันสินค้าตกหล่นจากพาเลทขณะทำการขนส่ง กระชับสินค้า เพื่อให้ดูกระทัดรัด สวยงาม
ป้องกันสินค้าสัมผัสกับฝุ่นละออง สิ่งสกปรกและไอน้ำ
ปัจจุบันสามารถใช้กับงานสปา (รองเตียง,อบตัว) เพื่อการลดน้ำหนักและกระชับสัดส่วน



สรุปผลการเรียนวันจันทร์ที่ 15 กันยายน 2557 (ครั้งที่ 5 )

แปลสรุปข่าวประจำสัปดาห์
-รองเท้าบูทน้ำตื้นยี่ห้อ Fisherman ที่ออกแบบกราฟฟิกให้เหมือนอยู่ใต้น้ำเหมือนจริง
-เบียร์ผลไม้ Tropical Brew ที่นำเรื่องราวที่โด่งดังในอดีตมาตั้งชื่อและออกแบบ
-แซนวิซ การใช้กราฟฟิกโดยตรงและทางอ้อม โดยมี window ให้เห็นข้างในที่สื่อถึงรสชาติและชนิด
แนะแนวเกี่ยวกับการเรียนการสอน
ดำเนินการวิเคราะห์ตามโจทย์ที่อาจารย์ได้ให้ไว้ตามขั้นตอน
สำรวจความต้องการของผูประกอบการ
ข้อผิดพลาดต่างๆ
ตั้งจุดประสงค์ SWOT Analysis
S มาจาก Strengths หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายใน
W มาจาก Weaknesses หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ
O มาจาก Opportunities หมายถึง โอกาส ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอก
T มาจาก Threats หมายถึง อุปสรรค ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก



งานประจำสัปดาห์
แนวทางการดำเนินงานโดยใช้ mindmap โดยโหลดจาก google play
การสร้างแพทเทิร์นบรรจุภัณฑ์จากเว็บไซต์ http://www.templatemaker.nl/
เสนองนานและความคืบหน้าของแต่ละบุคคล
สร้างArt work ฉลากของแต่ละบุคคลเพื่อศึกษาและพัฒนา และนำเสนอแนวทางต่อไป

สรุปผลการเรียนวันจันทร์ที่ 8 กันยายน 2557 (ครั้งที่ 4 )

การแปลสรุปข่าวประจำสัปดาห์
-บรรจุภัณฑ์รักสิ่งแวดล้อม Natural Delivery สามารใช้เป็นที่รองจานได้ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมโดยเน้นการใช้งานสามารถรีไซเคิลและย่อยสลายด้ง่าย ใช้สีเขียวเพื่อต้องการสื่อถึงความเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ เป็นการสมผสานระหว่างกราฟฟิกและการแยกคำ เทคนิคของบรรจุภัณฑ์คือใช้การ ปรุ
-น้ำหอม เซ็น การออกแบบบรจุภัณฑ์ที่มีรูปลักษณ์จากไม้ไผ่ ประเทศญ่ปุ่น
-PIETRO GARA บรรจุภัณฑ์บรรจุเส้นพาตต้า การเจาะ window ให้เห็นตัวผลิตภัณฑ์ที่อยู่ด้านในซึ่งดูแล้วจะเห็นเป็นชุดงนเลี้ยงจากรูปแบบการเจาะ ปรุ
แนะแนวเกี่ยวกับรายวิชา
การปรับแนวคิดและรูปแบบบรรจุภัณฑ์ ทำให้ได้มากที่สุด
การใช้งานในกูเกิ้ลไดฟ์ และการจัดแฟ้มให้เป็นระเบียบ
การใช้งานโปรแกรม mindmap เพื่อการใช้งานในรูปแบบอธิบายงานให้เข้าใจง่ายและชัดเจนในรูปแบบแผนผังความคิด
ศึกษาทำความเข้าใจใบงานในระบบ claroline E-learning และส่ง
อาทิตย์หน้า สิ่งที่ต้องเตรียม
-คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
-กระดาษอังกฤษ หน้าเดียวคละสีอย่างน้อย 4แผ่น

วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปผลการเรียนวันที่1 กันยายน 2557 (ครั้งที่3)

แนะแนวการเรียนการสอน

การนำเสนอข่าวประจำสัปดาห์
-หมากฝรั่ง Tridean
-Jaali bean บรรจุภัณฑ์อาหารอินเดีย,ถั่วแขก

ชนิดและประเภทของบรรจุภัณฑ์
บทบาทของบรรจุภัณฑ์ที่มีผลต่อการพัฒนา
ที่มาของการพัฒนาผลิตภัณฑ์
การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน

-ชี้แจงเกี่ยวกับการทำงานของระบบออนไลน์
-แนะนำเรื่องการ Shared File ในการส่งงาน
- แนะแนวเรื่องการคิดขบวนการออกแบบ การคิดอย่างเป็นระบบ
- ตรวจงานกลุ่มในแต่ละกลุ่ม ถึงความคืบหน้าของงาน